วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

การเพาะเห็ดหูหนู ทำเงิน

เห็ดหูหนู
เป็นเห็ดที่ประชาชนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี สามารถ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพ ดินฟ้าอากาศของประเทศไทย เป็นเห็ดที่มีรสชาติดี กลิ่นหอม อร่อยและมีคุณสมบัติ พิเศษคือคงสภาพความกรอบและคุณค่าทางอาหาร ทั้งยังปลอดภัยต่อผู้บริโภค
 ธรรมชาติของเห็ดหูหนู
ในสภาพธรรมชาติ เห็ดหูหนูจะเจริญได้ดีในเขตร้อน โดยเฉพาะภูมิอากาศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเจริญเติบโตบนขอนไม้ที่เริ่มเปื่อยผุพัง ชาวจีนเชื่อว่าเห็ดหูหนูเป็นยาอายุวัฒนะสามารถรักษาโรคคอเจ็บ โรคโลหิตจางและแก้โรคร้อนในได้เป็นอย่างดี ชาวจีนนับเป็นชาติแรกที่รู้จักเพาะและบริโภคเห็ดหูหนู ในสมัยก่อนชาวจีนเพาะเห็ดหูหนูโดยการตัดไม้โอ๊กเป็นท่อน ๆ มาเพาะ แต่สำหรับประเทศไทยได้ทดลองเพาะ เห็ดหูหนูโดยการตัดไม้แคมากองสุมกันไว้ พอถึงฤดูฝนไม้จะเริ่มผุและมีเห็ดหูหนูเกิดขึ้น จากนั้นก็สามารถเก็บดอกเห็ดหูหนูได้เรื่อย ๆ จนเน่าขอนไม้จะผุ แต่ในปัจจุบันนิยมการเพาะเห็ดหูหนู ในถุงพลาสติกกันมากเพราะมีความสะดวก หาวัสดุเพาะได้ง่าย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
1. อุณหภูมิ เห็ดหูหนูสามารถเจริญได้ดีในทุกสภาพอากาศของไทย ในช่วงอุณหภูมิ 15-35 องศาเซลเซียส แต่ช่วงอุณหภูมิ ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นใยจะไม่ค่อยเจริญเติบโต ถ้าอุณหภูมิต่ำ ดอกเห็ดจะหนาผิดปกติ มีขนยาว เจริญเติบโตช้าและผลผลิตต่ำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูง ดอกเห็ดจะมีขนาดเล็ก ผลผลิตต่ำ

2. ความชื้น ปกติต้องการความชื้นในอากาศสูงมาก ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะในระยะเวลาที่เห็ดใกล้ออกดอก ควรมีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ 3. แสงสว่าง ปกติไม่จำเป็นนักแต่ในช่วงที่เส้นใยเจริญเติบโต หากมีแสงมากจะทำให้เส้นใยเดินช้าแก่เร็ว จึงควรเลี้ยงเส้นใยในห้องที่ค่อนข้างมืด สำหรับในช่วงที่เห็ดเริ่มออกดอก ถ้าแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะมีสีคล้ำขนยาว แต่ถ้าแสงน้อยดอกเห็ดจะซีด
4. การถ่ายเทอากาศ การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนนับว่ามีความสำคัญมาก ถ้าการถ่ายเทอากาศไม่ดี และมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ๆ ดอกเห็ดจะไม่บานแต่จะมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกระบอง แต่ถ้าอากาศถ่ายเทมากเกินไป จะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะแข็งกระด้าง มีขนยาว จึงนิยมเพาะในโรงเรือนที่มุงด้วยจากหรือหญ้าคา และบุด้วยพลาสติกภายในพร้อมกับ เจาะพลาสติกเป็นช่องระบายอากาศให้ถ่ายเทพอสมควร

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การเพาะเห็ดโคนน้อย


เห็ดโคนน้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โคไพรนัส ไฟมิทาเรียส (Coprinus fimetarrius) จัดอยู่ใน ตระกูลเห็ด (Basidiomycetes ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป มีชื่อเรียกตามวัสดุเพาะ เช่น เห็ดถั่ว เห็ดถั่วเหลืองหรือ เห็ดถั่วเน่า เห็ดโคนน้อย เห็ดโคนบ้าน เห็ดโคนขาว(ภาคเหนือ) เห็ดคราม เห็ดปลวกน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)เห็ดโคนเพาะ
เห็ดโคนน้อย เห็ดหมึก(ภาคกลาง) เป็นเห็ดที่ขึ้นง่าย เห็ดชนิดนี้นมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังพบว่ามีสรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยในการย่อยอาหารและลดเสมหะ สามารถที่จะใช้วัสดุเพาะอื่นๆเพาะได้อีกมากไม่ว่าจะเป็นต้นและใบถั่วต่างๆต้นข้าวโพด ทะลายปาล์มน้ำมัน ผักตบชวา ต้นและใบกล้วย ซึ่งสามารถที่จะนำมาเป็นวัสดุเพาะได้ทั้งสิ้น ล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเพาะ เห็ดโคนน้อยคือการสลายตัวง่ายของดอกเห็ด เนื่องจากเป็นเห็ดที่มีวงจรชีวิตสั้นมากไม่เกิน36 ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่ที่พบคือประมาณ 24 ชั่วโมงเท่านั้น โดยตอนเช้าจะมีขนาดเล็กและจะโตขึ้นในช่วงบ่าย ซึ่งจะต้องรีบเก็บ หากปล่อยทิ้งไว้  ดอกเห็ดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและสูงชะลูดขึ้น หมวกดอกจะบาง

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

การเพาะเห็ดหอม สร้างรายได้


การเพาะเห็ดหอมจากขี้เลื่อย
การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก ในสภาพธรรมชาติได้ประสบความสำเร็จมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ปัจจุบันในการเพาะเห็ดหอมด้วยวิธีเพาะเลียนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ไม้ก่อ (ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุด และช่วยแก้ไขปัญหาการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมได้อีกทางหนึ่ง
ข้อควรทราบ ต้นทุนในการเพาะเห็ดหอม (โดยประมาณ)
เงินลงทุน :  ประมาณ  45,000 บาท  (ทุนหมุนเวียน 25,000 บาท/เห็ด 1  ชุด) รายได้ :  100,000  บาท/เห็ด  1   ชุด

วัสดุอุปกรณ์
1. วัสดุเพาะ ที่ได้ผลดี คือ ขี้เลื่อยไม้มะขามรองมาคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหมัก และวัสดุเสริม ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ขี้เลื่อย 100 กก. รำข้าว 5 กก. น้ำตาลทราย 2 กก. ดีเกลือ 0.2 กก. ยิบซั่ม 0.5 กก. ผสมน้ำให้มีความชื้น 55-65%
2. ถุงพลาสติกทนร้อน และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
3. หม้อนึ่งความดัน หรือถังนึ่งไม่อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อ
4. โรงเรือน หรือสถานที่บ่มเส้นใยและให้ผลผลิต