วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเพาะเห็ดออเรนจิ หนึ่งเดียวในไทย

ห็ดเออริจิ หรือ เห็ดนางรมหลวง เป็นเห็ดเมืองหนาว พบมากในประเทศญี่ปุ่น และประเทศในแถบยุโรป ส่วนการเพาะเห็ดเออริจิ ในประเทศไทยในขณะนี้ มีเพียงฟาร์มเห็ด ปิยะพร อินเตอร์เอโกรโลยี ที่จังหวัดสระบุรี เพียงแห่งเดียว ที่สามารถเพาะเห็ดเออริจิ ออกจำหน่าย 
นายชาญชัย กิตติชูโชติ เจ้าของกิจการฟาร์มเห็ดปิยะพรฯ กล่าวว่า สำหรับเห็ดเออริจิ เป็นเห็ดที่มีรสชาติดี และเมื่อนำมาผ่านขบวนการปรุงเป็นอาหาร รสชาติใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ เช่น ถ้านำมาย่าง รสชาติเหมือนกับปลาหมึกย่าง และเมื่อนำมาทำน้ำแดงรสชาติเหมือนเปาฮื้อ ทำให้มีการนำเห็ดเออริจิมาใช้แทนเนื้อสัตว์ ในการปรุงอาหารมังสวิรัติ
ทั้งนี้ คุณค่าทางอาหารของเห็ดเออริจิ มีโปรตีนประมาณ 25 % คลอเรสเตอรอลต่ำ คุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ ที่สำคัญปลอดภัยต่อผู้บริโภคไม่มีการใช้สารเคมี เห็ดเออริจิจึงถูกจัดเป็นเห็ดเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง ซึ่งการเพาะเห็ดเออริจิ ของฟาร์มปิยะพรฯ ใช้การเพาะเลี้ยงในระบบปิด เนื่องจากเป็นเห็ดเมืองหนาว จะต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ประมาณไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส
โดยความรู้ในการเพาะเห็ด ทางฟาร์มปิยะพรฯได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ วว. โดยอาจารย์ สำเภา ภัทรเกษวิทย์ เป็นที่ปรึกษาโครงการและควบคุมการผลิต และเนื่องจากการเพาะเห็ดเออริจิในเมืองไทยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกันมากจากประเทศต้นกำเนิด ทำให้การเพาะเห็ดดังกล่าว ต้องใช้เวลาและใช้ทุนจำนวนมากถึง 40 ล้านบาท  
       ส่วนหนึ่งทางฟาร์มได้รับเงินกู้จากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ซึ่งทางธนาคารฯ เห็นว่าเป็นธุรกิจของคนไทย และเป็นธุรกิจการเกษตรที่แปลกใหม่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ในขณะที่เจ้าของฟาร์มเห็ด สนใจทำเห็ดเออริจิ แม้ว่าทุนค่อนข้างจะสูงมาก เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ และเป็นรายแรก ประกอบกับเห็ดเออริจิเป็นเห็ดเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง ซึ่งเข้ากับกระแสของคนรักสุขภาพที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ในปัจจุบัน
นายชาญชัย กล่าวว่า ในครั้งแรกที่เริ่มทำฟาร์มเห็ดเออริจิ ไม่ประสบความสำเร็จ และตั้งใจว่าจะเลิกทำ โดยหยุดทำไปพักหนึ่ง ซึ่งทางอาจารย์สำเภา ก็ได้คิดค้นหาวิธีการเพาะเลี้ยงใหม่จนประสบผลสำเร็จ และมาชักชวนให้ทำอีกครั้ง ซึ่งเราเห็นว่า ในเมื่อมีโรงเรือน ที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้ และที่ผ่านมาก็ลงทุนไปแล้ว จึงตัดสินใจลงทุนเพิ่มและทำใหม่อีกครั้ง โดยในครั้งหลังนี้ ผลผลิตออกมาเป็นที่พอใจ โดย ตั้งเป้าไว้ว่า จะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 5 ปี

โดยผลผลิตที่ได้ในขณะนี้ ประมาณ 300 -400 กิโลกรัม ต่อวัน ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตนับตั้งแต่วันที่เริ่มเพาะประมาณ 2 เดือนครึ่ง สายพันธุ์ที่นำมาเพาะเป็นสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป การที่ผลิตได้เองภายในประเทศ ช่วยลดการนำเข้าลงได้ ทำให้ไม่ต้องเสียดุลการค้า ส่วนราคาขายในท้องตลาด ประมาณ 300 - 350 บาท ราคาขายหน้าโรงงานกิโลกรัมละ 250 บาทในส่วนของช่องทางการจัดจำหน่าย เนื่องจากเป็นเห็ดที่ต้องอยู่ในห้องเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส ดังนั้น จึงไม่สามารถนำไปวางขายทั่วไปได้ และประกอบกับผลผลิตที่ออกมาในขณะนี้ ยังไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของตลาด ผลผลิตที่ออกมาส่วนใหญ่จะส่งตามร้านอาหาร และซุปเปอร์มาร์เก็ตที่มีชื่อเสียงบางแห่งสำหรับตลาดเห็ดเออริจิ
ในประเทศไทย ตลาดยังมีความต้องการอยู่สูงมาก เนื่องจากประเทศไทยมีผู้ปลูกได้เพียงรายเดียว และชื่อของเห็ดเออริจิเป็นที่รู้จักของคนไทยระดับหนึ่ง ส่วนหนึ่งคงมาจากชื่อเสียงของเห็ดเออริจิ ที่ดังมาจากประเทศญี่ปุ่น และประเทศในแถบยุโรป ร้านอาหารที่รับเห็ดเออริจิจากเราไป ส่วนหนึ่งทำอาหารขายให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่รู้จักเห็ดเออริจิ
เชื้อเห็ดนางรมหลวงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอาหารเลี้ยงเชื้อทั่วไป แต่ต้องการอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นประมาณ 25 ซ. และเลี้ยงขยายเชื้อได้ดีในเมล็ดข้าวฟ่างเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่น ๆ ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน (ยางพารา) หรือผสมกับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ซังข้าวโพดบด ต้นไมยราบบด ใช้เป็นวัสดุเพาะหลัก โดยผสมกับอาหารเสริม เช่น รำข้าว รากมอลต์ เมล็ดข้าวฟ่างบด น้ำตาลทรายแดง ความชื้น 70-75% บรรจุในขวดพลาสติก ปากกว้างขนาดความจุ 1 ลิตร อบฆ่าเชื้อที่ 121 ซ. นาน 1 ชม. เลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 22-25 ซ. นานประมาณ 30 วัน เชื้อเห็ดจะเจริญเต็มขวด แล้วเลี้ยงต่อให้เชื้อเจริญเติบโตเต็มที่อีกประมาณ 10 วัน จึงนำไปเปิดดอกที่อุณหภูมิ 15-20  ซ. ความชื้น 80-90% หลังจากเปิดขวดได้ประมาณ 15 วัน ก็จะเก็บเห็ดได้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 100-150 กรัมต่อขวด โดยทั่วไปจะทำการเก็บเห็ดเพียงรุ่นเดียว จะเก็บเห็ดรุ่นแรกแล้วทิ้งเพราะเห็ดรุ่นที่สองคุณภาพไม่ดี มีขนาดเล็กและน้ำหนักน้อย ได้ผลไม่คุ้มกับเวลาและค่าใช้จ่ายที่เสียไป
ส่วนเมนูที่ได้รับความนิยม เห็ดย่าง เห็ดผัดพริกไทดำ เห็ดผัดน้ำมัน เห็ดเปาฮือน้ำแดง เห็ดชุบแป้งทอด เป็นต้น แม้ว่ากำลังการผลิตจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด แต่การเพิ่มกำลังการผลิต ก็คงต้องวางแผนอย่างระมัดระวัง เพราะการเพิ่มกำลังการผลิตต้นทุนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการที่รายอื่นๆ จะหันมาผลิต ก็คงจะต้องคิดหนัก เพราะต้นทุนที่ค่อนข้างสูง โดยยังไม่สามารถหาวิธีการเพาะเลี้ยงในระบบเปิดได้ ถ้าเลี้ยงในระบบเปิดได้ คงจะมีการเลี้ยงอย่างแพร่หลาย และราคาก็จะถูกลง
        ผู้สนใจต้องการความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเห็ด ติดต่อไปได้ที่ อาจารย์สำเภา ภัทรเกษวิทย์ อดีตผู้อำนวยการโครงการเห็ดของ วว. โทร. 0-1867-6410 หรือ บริษัท ปิยะพร อินเตอร์เอโกรโลยี โทร. 0-9778-6519
ขอขอบคุณ แหล่งที่มา: http://www.manager.co.th
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต


วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

การเพาะเห็ดหูหนู ทำเงิน

เห็ดหูหนู
เป็นเห็ดที่ประชาชนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี สามารถ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพ ดินฟ้าอากาศของประเทศไทย เป็นเห็ดที่มีรสชาติดี กลิ่นหอม อร่อยและมีคุณสมบัติ พิเศษคือคงสภาพความกรอบและคุณค่าทางอาหาร ทั้งยังปลอดภัยต่อผู้บริโภค
 ธรรมชาติของเห็ดหูหนู
ในสภาพธรรมชาติ เห็ดหูหนูจะเจริญได้ดีในเขตร้อน โดยเฉพาะภูมิอากาศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเจริญเติบโตบนขอนไม้ที่เริ่มเปื่อยผุพัง ชาวจีนเชื่อว่าเห็ดหูหนูเป็นยาอายุวัฒนะสามารถรักษาโรคคอเจ็บ โรคโลหิตจางและแก้โรคร้อนในได้เป็นอย่างดี ชาวจีนนับเป็นชาติแรกที่รู้จักเพาะและบริโภคเห็ดหูหนู ในสมัยก่อนชาวจีนเพาะเห็ดหูหนูโดยการตัดไม้โอ๊กเป็นท่อน ๆ มาเพาะ แต่สำหรับประเทศไทยได้ทดลองเพาะ เห็ดหูหนูโดยการตัดไม้แคมากองสุมกันไว้ พอถึงฤดูฝนไม้จะเริ่มผุและมีเห็ดหูหนูเกิดขึ้น จากนั้นก็สามารถเก็บดอกเห็ดหูหนูได้เรื่อย ๆ จนเน่าขอนไม้จะผุ แต่ในปัจจุบันนิยมการเพาะเห็ดหูหนู ในถุงพลาสติกกันมากเพราะมีความสะดวก หาวัสดุเพาะได้ง่าย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
1. อุณหภูมิ เห็ดหูหนูสามารถเจริญได้ดีในทุกสภาพอากาศของไทย ในช่วงอุณหภูมิ 15-35 องศาเซลเซียส แต่ช่วงอุณหภูมิ ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 12 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส เส้นใยจะไม่ค่อยเจริญเติบโต ถ้าอุณหภูมิต่ำ ดอกเห็ดจะหนาผิดปกติ มีขนยาว เจริญเติบโตช้าและผลผลิตต่ำ แต่ถ้าอุณหภูมิสูง ดอกเห็ดจะมีขนาดเล็ก ผลผลิตต่ำ

2. ความชื้น ปกติต้องการความชื้นในอากาศสูงมาก ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะในระยะเวลาที่เห็ดใกล้ออกดอก ควรมีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ 3. แสงสว่าง ปกติไม่จำเป็นนักแต่ในช่วงที่เส้นใยเจริญเติบโต หากมีแสงมากจะทำให้เส้นใยเดินช้าแก่เร็ว จึงควรเลี้ยงเส้นใยในห้องที่ค่อนข้างมืด สำหรับในช่วงที่เห็ดเริ่มออกดอก ถ้าแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะมีสีคล้ำขนยาว แต่ถ้าแสงน้อยดอกเห็ดจะซีด
4. การถ่ายเทอากาศ การถ่ายเทอากาศในโรงเรือนนับว่ามีความสำคัญมาก ถ้าการถ่ายเทอากาศไม่ดี และมีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก ๆ ดอกเห็ดจะไม่บานแต่จะมีลักษณะเป็นแท่งคล้ายกระบอง แต่ถ้าอากาศถ่ายเทมากเกินไป จะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะแข็งกระด้าง มีขนยาว จึงนิยมเพาะในโรงเรือนที่มุงด้วยจากหรือหญ้าคา และบุด้วยพลาสติกภายในพร้อมกับ เจาะพลาสติกเป็นช่องระบายอากาศให้ถ่ายเทพอสมควร

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การเพาะเห็ดโคนน้อย


เห็ดโคนน้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โคไพรนัส ไฟมิทาเรียส (Coprinus fimetarrius) จัดอยู่ใน ตระกูลเห็ด (Basidiomycetes ในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป มีชื่อเรียกตามวัสดุเพาะ เช่น เห็ดถั่ว เห็ดถั่วเหลืองหรือ เห็ดถั่วเน่า เห็ดโคนน้อย เห็ดโคนบ้าน เห็ดโคนขาว(ภาคเหนือ) เห็ดคราม เห็ดปลวกน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)เห็ดโคนเพาะ
เห็ดโคนน้อย เห็ดหมึก(ภาคกลาง) เป็นเห็ดที่ขึ้นง่าย เห็ดชนิดนี้นมีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังพบว่ามีสรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยในการย่อยอาหารและลดเสมหะ สามารถที่จะใช้วัสดุเพาะอื่นๆเพาะได้อีกมากไม่ว่าจะเป็นต้นและใบถั่วต่างๆต้นข้าวโพด ทะลายปาล์มน้ำมัน ผักตบชวา ต้นและใบกล้วย ซึ่งสามารถที่จะนำมาเป็นวัสดุเพาะได้ทั้งสิ้น ล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเพาะ เห็ดโคนน้อยคือการสลายตัวง่ายของดอกเห็ด เนื่องจากเป็นเห็ดที่มีวงจรชีวิตสั้นมากไม่เกิน36 ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่ที่พบคือประมาณ 24 ชั่วโมงเท่านั้น โดยตอนเช้าจะมีขนาดเล็กและจะโตขึ้นในช่วงบ่าย ซึ่งจะต้องรีบเก็บ หากปล่อยทิ้งไว้  ดอกเห็ดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและสูงชะลูดขึ้น หมวกดอกจะบาง

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

การเพาะเห็ดหอม สร้างรายได้


การเพาะเห็ดหอมจากขี้เลื่อย
การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก ในสภาพธรรมชาติได้ประสบความสำเร็จมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ปัจจุบันในการเพาะเห็ดหอมด้วยวิธีเพาะเลียนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ไม้ก่อ (ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุด และช่วยแก้ไขปัญหาการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมได้อีกทางหนึ่ง
ข้อควรทราบ ต้นทุนในการเพาะเห็ดหอม (โดยประมาณ)
เงินลงทุน :  ประมาณ  45,000 บาท  (ทุนหมุนเวียน 25,000 บาท/เห็ด 1  ชุด) รายได้ :  100,000  บาท/เห็ด  1   ชุด

วัสดุอุปกรณ์
1. วัสดุเพาะ ที่ได้ผลดี คือ ขี้เลื่อยไม้มะขามรองมาคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหมัก และวัสดุเสริม ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ขี้เลื่อย 100 กก. รำข้าว 5 กก. น้ำตาลทราย 2 กก. ดีเกลือ 0.2 กก. ยิบซั่ม 0.5 กก. ผสมน้ำให้มีความชื้น 55-65%
2. ถุงพลาสติกทนร้อน และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
3. หม้อนึ่งความดัน หรือถังนึ่งไม่อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อ
4. โรงเรือน หรือสถานที่บ่มเส้นใยและให้ผลผลิต

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เห็ดโคนญี่ปุ่น

สวัสดีค่ะ เรื่องเห็ดๆ กับการเพาะ เห็ดโคนญี่ปุ่นซึ่งเป็นเห็ดที่คนไทยนิยมรับประทานกันในขณะนี้ ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แถมเห็ดก็มีราคาแพง เป็นที่สนใจของผู้ที่กำลังมองหาอาชีพเสริมหรือจะเป็นอาชีพหลัก วันนี้เรานำวิธีการเพาะและตัวอย่างการทำฟาร์มเห็ดแบบจริงจังมาให้ผู้สนใจได้ศึกษากันค่ะ...
ตัวอย่างการทำฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่น
ผู้ใหญ่สุภีร์ ดาหาร ทำฟาร์มเห็ดโคนญี่ปุ่น ขายกิโลกรัมละ 200 บาท ได้ผลดี ที่บ้านหนองโข่ย อำเภอเมืองขอนแก่น
คุณสุภีร์ ดาหาร อายุ 47 ปี ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองโข่ย อยู่บ้านเลขที่ 175 หมู่ที่ 19 ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (เกษตรกรรม) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาวิทยาเขตเกษตรลำปาง ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตลำปาง
หลังจากจบการศึกษาแล้ว ก็ไปสมัครเข้าทำงานเป็นลูกจ้างของกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งงานที่ได้ทำส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นงานวิจัยส่งเสริมและพัฒนา หลังจากนั้นได้ไปเป็นครูอัตราจ้างอยู่ 1 ปีการศึกษา ก็หมดสัญญาจ้าง ปี 2529 ก็ไปสมัครเข้าทำงานซึ่งเป็นโครงการร่วมกับต่างประเทศของกระทรวง

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เห็ดนางฟ้า


วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า

ขั้นตอนการเพาะเห็ดนางฟ้า
 การเพาะเห็ดนางฟ้ามีระบบการผลิตแยกชัดเจนได้เป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ 
1) การผลิตเชื้อวุ้น 
2) การทำหัวเชื้อเห็ด 
3) การผลิตเชื้อถุงหรือก้อนเชื้อ 
4) การเพาะให้เกิดเป็นดอกเห็ด 
 การลงทุนจะมากในขั้นตอนที่ 1 - 3 ส่วนขั้นที่ 4 คือการผลิตดอกเห็ด จะทำขนาดเล็กใหญ่เท่าใดก็ได้    ไม่ต้องลงทุนมาก หรือจะดัดแปลงจากโรงเรือนอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว และที่วางอยู่มาใช้ได้ และในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการเพาะจะทำครบทุกขั้นตอนเลยก็ได้ หรืออาจจะทำเป็นบางขั้นตอน เช่น จะทำเฉพาะหัวเชื้อเห็ด โดยการนำก้อนเชื้อที่ทำสำเร็จรูปแล้วมาเปิดออก รดน้ำให้เกิดดอกเห็ดเลยก็ได้ ซึ่งระบบการตั้งฟาร์มเห็ด ได้รับการแนะนำให้ทำเป็นขั้น ๆ ดังต่อไปนี้
 1. เริ่มเรียนรู้วิธีการกินเห็ด    เราจะทำธุรกิจเห็ดต้องกินเห็ดเก่ง ต้องปรุงอาหารจากเห็ดหลายชนิด ทำให้อร่อยด้วย สามารถแนะนำผู้ซื้อเห็ดไปปรุงเองได้อย่างมั่นใจ เช่นนี้ทำให้เราพร้อมต่อการขายเห็ด
2. ผลิตดอกเห็ดขาย    90% ของฟาร์มเห็ดที่ทำอยู่เริ่มจากวิธีนี้ โดยทำโรงเรือนขนาดย่อมๆ เพื่อใช้เพาะเอาดอกเห็ด ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มมาผลิตดอก โดยหาความชำนานและความรู้ไปเรื่อยๆ จนเชี่ยวชาญ ขั้นนี้อย่าเพิ่งลงทุนทำถุงเชื้อเอง ให้ซื้อถุงเชื้อจากฟาร์มที่ทำขายดีกว่า เริ่มจากน้อยๆ ทยอยทำได้เห็ดมาก็นำไปขายตลาด ขายเองหรือส่งแม่ค้าก็ได้ ขยายตลาดดอกเห็ดเพิ่มมากขึ้นไปเป็นลำดับ จนตลาดใหญ่ขึ้นและสม่ำเสมอดีแล้วจึงคิดผลิตถุงเชื้อ แต่ถ้าตลาดไปไม่ได้ก็หยุดแค่นั้นไม่ขาดทุนมาก

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เห็ดลมหรือเห็ดกระด้าง

เห็ดกระด้างหรือเห็ดลม(เห็ดบด,เห็ดขอนดำ) เป็นเห็ดพื้นเมืองที่มีรสชาติดี มีครีบที่มีหมวกดอกขนาดใหญ่ กว้าง 5 – 12 เซนติเมตร ก้านสั้น 1 – 2 เซนติเมตร สีน้ำตาลถึงน้ำตาลปนดำ ในธรรมชาติ มักพบบนขอนไม้ล้มในตระกูลเต็งรังหรือไม้ใบกว้าง ดอกเห็ดอาจเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ หรือขึ้นซ้อนกันบนขอนไม้ มักพบเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ต่อฤดูฝนหรือฤดูฝนต่อฤดูหนาว ที่อากาศกลางวันและกลางคืน อุณหภูมิต่างกันมาก ๆ เห็ดชนิดนี้ดอกอ่อนจะนิ่ม เมื่อแก่จะเหนียวและแข็ง จึงสามารถเก็บรักษาไว้รับประทานได้นานข้ามปี เวลาจะนำมาปรุงอาหารก็นำไปแช่น้ำให้คืนสภาพเหมือนเห็ดหูหนู เป็นเห็ดที่มีรสหวานกว่าเห็ดชนิดอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน ดอกอ่อนนำไปแกงซุปหรือลาบให้ความรู้สึก ในการรับประทานคล้ายเนื้อสัตว์ คือก รุบเหนียว ลื่นลิ้น จึงเป็นที่นิยมรับประทานของคนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นจึงเป็นพื้นที่ ๆ เป็นแหล่งผลิตด้วยราคาของเห็ดกระด้างค่อนข้างสูงกว่าเห็ดพื้นเมืองชนิดอื่น ๆ
ตกกิโลกรัมละ 80-200 บาท แล้วแต่ฤดูกาลเกษตรกรบางรายสามารถทำรายได้สูงกว่า 5 หมื่นบาทต่อเดือน เห็ดลมเป็นเห็ดพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า ซึ่งกรม

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เห็ดนางรม


เพาะเห็ดนางรม 
การเพาะเห็ดนางรมด้วยวิธีการแผนใหม่ที่ไม่ต้องนึ่งฆ่าเชื้อ
วัสดุและอุปกรณ์
          • ฟางแห้ง ฟางข้าวนวดหรือตอซัง แต่ตอซังจะมีราคาแพงกว่า ควรใช้ฟางข้าวนวดและไม่ต้องตัดหรือสับให้ละเอียด
จะเป็นฟางข้าวจ้าวหรือข้าวเหนียวก็ได้ จะเป็นฟางใหม่หรือฟางเก่าค้างปีก็ใช้ได้ ถ้ายังอยู่ในสภาพที่ไม่เน่าสลาย
          • ถุงพลาสติก ชนิดถึงเย็นขนาด 10" x 15" หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย เช่น 12" x 17"
          • ก้อนเชื้อเห็ดนางรมขาม หรือ นางรมฮังการี ที่ใช้เปิดดอก ซึ่งทำจากขี้เลื้อย จะหาซื้อได้ตามฟาร์ม ที่เพาะเห็ดถุงทั่วไป เลือกก้อนและเชื้อที่เห็ดเดินเต็มที่ พร้อมจะออกดอก
          • คอขวด และยางรัด
วิธีการเพาะ
          • แช่ฟางในน้ำอาจจะเป็นน้ำบ่อ น้ำคลอง หรือแช่ในถุงน้ำประปากก็ได้ แช่นานอย่างน้อย 4 ชม. ถ้าต้องการใช้ทันทีต้องใช้วิธีแช่ฟางทีละน้อยพร้อมย่ำไปด้วย ใช้เวลาแช่ประมาณ 30 นาที นำฟางออกจากน้ำกองไว้ให้ฟางพอหมาดๆ
ถ้าต้องการเร็วต้องบิดน้ำออกจากฟางพอให้ฟางหมด
         • อัดฟางใส่ถุงพลาสติกสลับกับการโรยเชื้อจากก้อนเชื้อเป็นชั้นๆ 3 ชั้น ก้อนเชื้อหมัก 1 กก. อาจทำถุงฟาง
ได้ประมาณ 6-7 ถุง
          • ใส่คอขาด รัดยาง อุดด้วยฟางเปียกม้วนๆ หรือสำลีอย่างถูก
          • นำถุงที่ทำเสร็จแล้วไปบ่มให้เชื้อเดินไว้ในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเทได้ดี เช่น ใต้ถุนบ้านหรือในโรงบ่ม ประมาณ 20วันในกรณีถุงขนาด 10"x16" เชื้อจะเดินเต็มถุงพร้อมที่จะนำไปเปิดดอก
          • การเปิดดอก ควรเปิดในโรงเรือนที่มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 65-75 เปอร์เซ็นต์ อาจใช้วิธี