ตกกิโลกรัมละ 80-200 บาท แล้วแต่ฤดูกาลเกษตรกรบางรายสามารถทำรายได้สูงกว่า 5 หมื่นบาทต่อเดือน เห็ดลมเป็นเห็ดพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อการเพาะปลูกเป็นการค้า ซึ่งกรม
วิชาการเกษตร โดยอัญชลี (2540ข) ได้คัดเลือกสายพันธุ์ดีไว้บริการและจำหน่ายแก่เกษตรก ร พร้อมทั้งได้วิจัยและพัฒนาสูตรวัสดุเพาะ ซึ่งมีหลายสูตรด้วยกัน ดังนี้
.jpg)
- ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือไม้มะม่วง มะขาม 100 กิโลกรัม
- น้ำตาลทราย 2-3 กิโลกรัม
- รำ 3-5 กิโลกรัม
- ปูนขาว 1 กิโลกรัม
- น้ำ 65-75 กิโลกรัม (ลิตร)
สูตรวัสดุเพาะที่ 2
- ไม้เบญพรรณ 100 กิโลกรัม
- แอมโมเนียมชัลเฟต 1 กิโลกรัม
- ปูนขาว 1 กิโลกรัม

วัสดุและอุปกรณ์
1. ถุงพลาสติกใสทนร้อนขนาด 3X13 นิ้ว
2. คอขวดพลาสติกทนร้อน
3. สำลี ยางรัด
4. หม้อนึ่งลูกทุ่ง
5. วัสดุเพาะตามสูตร
6. โรงพักบ่มเลี้ยงใยและโรงเรือนเปิดดอก
วิธีการ
1. ผสมสูตรวัสดุเพาะเข้าด้วยกัน โดยนำน้ำตาลละลายในน้ำจากนั้นนำไปรดบนขี้เลื่อย ซึ่งผสมกับรำไว้เรียบร้อยแล้ว ผสมจนเข้ากันดี จึงนำไปบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่น

.jpg)
การพักบ่มเส้นใย
เส้นใยที่เจริญในถุงวัสดุเพาะเห็ด 1 กิโลกรัม จะใช้เวลา 30-35 วัน จึงจะเติม ถุงเพาะเพื่อเส้นใยเดินเต็มถุงต้องพักบ่มเส้นใยต่อไป จนเส้นใยเริ่มสร้างสีน้ำตาล โดย เฉลี่ยจะใช้เวลา 80-90 วัน จึงนำไปเปิดดอก โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือนที่ร่ม โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส

คล้ายโรงเรือนของเห็ดขอนขาว สามารถมุงด้วยพลาสติกและพรางแสงด้วยซาแลน ไม่จำเป็นต้องใช้แฝกหรือจาก เพราะเป็นเห็ดที่ชอบอุณหภูมิสูง โดยให้มีความชื้น 70-80 %
ในการเปิดดอกเห็ดลม เห็ดจะออกดอกได้ดี เมื่ออากาศแปรปรวนหรืออุณหภูมิกลางวัน ต่อกลางคนต่างกันมาก
มีเกษตรกรที่ชำนาญการเพาะเห็ดลมในภาคอีสาน นิยมกระตุ้น ให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอโดยปิดโรงเรือนให้ร้อนในช่วงเที่ยงถึงบ่าย 3 โมงเย็น โดย อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ระหว่าง 35-37 องศาเซลเซียส แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะเส้นใยอาจตายได้ หากอุณหภูมิขึ้นสูงมาก ก็จะระบายความร้อนโดยการรดน้ำด้วย สปริงเกอร์ ส่วนในเวลากลางคืนจะเปิดโรงเปิดดอก ให้ได้รับความเย็นและอากาศ ถ่ายเทได้เต็มที่ จะช่วยให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอได้ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ผู้สนใจเห็ดลม ควรฝึกปฏิบัติและสังเกตเทคนิคให้ดี จึงจะประสบผลสำเร็จในการเพาะ

การเก็บผลผลิต :
ควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลายขอบหมวกยังโค้งงอ ลักษณะคล้ายการเก็บดอกเห็ดขอนขาว จะได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพ หวานนุ่ม เหมาะที่จะนำไปผัดหรือซุป หากเก็บดอกเลยระยะดังกล่าว จะทำให้ดอกเห็ดทีได้เหนียว เคี้ยวยาก เช่น ดอกที่เก็บในธรรมชาติ แต่คนท้องถิ่นพื้นเมือง ก็มีภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำดอกไปฉีก หรือสับ ก่อนปรุงเป็นลาบหรือใส่แกงแค (แกงพื้นเมืองภาคเหนือ) นับเป็นเห็ดที่อร่อยชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
แหล่งที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร
ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น